อาจารย์ประจำหลักสูตร

คำถาม : การประเมินระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 “ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ” จะพิจารณาร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีอย่างไร

คำตอบ : 1. กรณีตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติข้อที่ 11 คือ ระดับความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพของหลักสุูตร และข้อที่ 12 คือ ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ จะต้องประเมินหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้
1.1) หากเป็นหลักสูตรใหม่ และยังไม่มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษา ให้พิจารณาว่าในเอกสาร มคอ.2 ระบุการประเมินข้อ 11 และข้อ 12 ไว้ในปีใดของการดำเนินการหลักสูตร ก็ให้ประเมินตามปีที่ระบุ
1.2) หากเป้นหลักสูตรปรับปรุง ซึ่งมีการดำเนินงานมาครบรอบระยะเวลาหลักสูตรและมีนิสิตสำดร็จการศึกษาแล้ว ก็ให้ประเมินข้อ 11 และข้อ 12 ดังกล่าวด้วย

2. กรณีตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ข้อที่ 8 คือ อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือให้คำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
คำว่า  “อาจารย์ใหม่” ที่ระบุไว้ หมายถึง อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่เพิ่งเข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอนใหม่ในหลักสูตร ซึ่งคณะหรือภาควิชาหรือหัวหน้าหลักสูตรจะต้องจัดการปฐมนิเทศหรือให้คำแนะนำด้านการจัดการเราียนการสอนให้กับอาจารย์ผู้นั้น เพื่อรับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรเป็นการเฉพาะ อาทิ ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร ลักษณะการจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์แต่ละรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตร เพื่อให้การเรียนการสอนแต่ละรายวิชามีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

ที่มา : หนังสือราชการ สกอ. ที่ ศธ 0506(3)/10206 ลงวันที่ 11 กันยายน 2558 )

คำถาม : กรณีที่อาจารย์เป็นนิสิตปริญญาเอกใน มศว และรายงานตัวเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในปีที่รับการประเมิน นับผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างไร

คำตอบ :

1. ที่องค์ประกอบที่ 1 ไม่สามารถนับเป็นประสบการณ์วิจัยของอาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษาได้ (กรณีที่อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา)

2. สามารถนับเป็นผลงานเผยแพร่ของนิสิตปริญญาเอกในองค์ประกอบที่ 2 ได้ และสามารถนับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 4 (4.2) ได้

คำถาม : อาจารย์ลาไปศึกษาต่อระดับ ป.เอก นับเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ :  ไม่ได้ เพราะลาไปศึกษาต่อ

คำถาม : หลักสูตรเดียวกัน แต่มีหลายแผนคือ แบบ ก 1 และแบบ ก 2 และแผน ข จะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่ชุด

คำตอบ : ต้องจัดหาอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 ชุด ตลอดระยะเวลาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า   5 คน (หรือดูง่ายๆ หากมี มคอ. 2 เล่มเดียว ก็มี 1 ชุด) และต้องจัดหาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนนิสิตตามภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548

  • วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 5 คน
  • การค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 15 คน

หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คน เทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

 

คำถาม : ผู้บริหาร (อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ) ในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้หากมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของ สกอ. สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เพียงหลักสูตรเดียวในมหาวิทยาลัยนั้น

คำถาม : อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถเป็น อาจารย์ผู้สอน ในหลาย ๆ หลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้

คำถาม : หลักสูตรที่มีแขนงจะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่คน

คำตอบ : กรณีหลักสูตรปริญญาตรีที่มีแขนงวิชากำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชาที่เปิดสอน (อ้างอิง บันทึกข้อความที่ ศธ 0506(4)/ว254 ของ สกอ.)

คำถาม : การนับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร กรณีอาจารย์ลาด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ลาคลอด ลาอุปสมบท ลาศึกษาต่อ ลาออก เป็นต้น ให้นับอย่างไร

คำตอบ : ถ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านใดท่านหนึ่ง ในรอบปีการศึกษาที่รับการประเมินลาด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ให้แต่งตั้งผู้อื่นที่มีคุณสมบัติครบแทน เพื่อให้มีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรครบ ส่วนการรายงานผลงานวิชาการของอาจารย์คนใหม่ที่มาแทน