ระดับหลักสูตร

คำถาม : หลักสูตรที่มีแขนงจะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่คน

คำตอบ : กรณีหลักสูตรปริญญาตรีที่มีแขนงวิชากำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชาที่เปิดสอน (อ้างอิง บันทึกข้อความที่ ศธ 0506(4)/ว254 ของ สกอ.)

คำถาม : คุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรตรงสาขาหรือสัมพันธ์พิจารณาอย่างไร

คำตอบ : 

1. อ้างอิงข้อมูล ISCED-F 2013

2. “สัมพันธ์” ในที่นี้หมายถึงคุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ของหลักสูตรที่เปิดสอน  โดยมีจำนวนรายวิชาของคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 50  ต้องตรงกับรายวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน โดยให้พิจารณารายวิชาของคุณวุฒิที่สูงกว่าระดับการศึกษาของหลักสูตรนั้น

3. กรณีที่อาจารย์สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร By Research หรือหลักสูตรที่มี coure course น้อยมาก ให้ดูว่าวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ตรงกับสาระหลักสูตร

4. กรณีมีข้อกำหนดของวิชาชีพเพิ่มเติมให้นำมาพิจารณาด้วย

 

คำถาม : การนับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร กรณีอาจารย์ลาด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ลาคลอด ลาอุปสมบท ลาศึกษาต่อ ลาออก เป็นต้น ให้นับอย่างไร

คำตอบ : ถ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านใดท่านหนึ่ง ในรอบปีการศึกษาที่รับการประเมินลาด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ให้แต่งตั้งผู้อื่นที่มีคุณสมบัติครบแทน เพื่อให้มีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรครบ ส่วนการรายงานผลงานวิชาการของอาจารย์คนใหม่ที่มาแทน

คำถาม : กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 จะเกิดอะไรขึ้น

คำตอบ :

1. อาจจะถูกระงับการรับนิสิตในปีการศึกษาต่อไป

2. หลักสูตรไม่ได้รับการเผยแพร่ว่าได้มาตรฐานโดย สกอ. จนกว่าจะมีระดับคะแนนดีขึ้นไปต่อกัน 2 ปี

3. มีผลต่อตัวบ่งชี้ ระดับคณะ (1.1 และ 5.2) และตัวบ่งชี้ระดับมหาวิทยาลัย (1.1 , 5.2 และ 5.3) และมีผลต่อการประเมินของ กพร.

คำถาม : กรณีเป็นปีแรกของการประเมินตามเกณฑ์นี้ จะยกเว้นการเทียบเคียงหรือไม่

คำตอบ : ไม่ยกเว้น เนื่องจากการกำหนดคู่เทียบเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด โดยเกิดจากการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากคู่เทียบ

คำถาม : หลักสูตร TQF ที่มีนิสิตคงค้าง แต่ไม่ได้เปิดรับนิสิตใหม่ ต้องประเมินหรือไม่

คำตอบ : อนุโลมไม่ต้องรับการประเมิน

คำถาม : หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจาก สกอ. แล้ว แต่ยังไม่มีการรับนิสิตต้องทำการประเมินหรือไม่

คำตอบ :  ไม่ต้องรับการประเมิน

คำถาม : การตรวจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาตรวจที่ใด ระหว่างบัณฑิตวิทยาลัยกับคณะเจ้าของหลักสูตร

คำตอบ : คณะ/หน่วยงานที่เป็นเจ้าของหลักสูตร

คำถาม : หลักสูตรสามารถเลือกผู้ประเมินด้วยตนเองได้หรือไม่

คำตอบ : ได้ ตามเกณฑ์ที่ระบุในคู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557 (หน้า 18)

คำถาม : การประเมินระดับหลักสูตรมีจุดเน้นเรื่องใด

คำตอบ : เน้นเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษา  ว่าหลักสูตรได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นิสิต อาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน  การประเมินผู้เรียน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้