ตัวบ่งชี้ที่ 2.2

เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

คำถาม : กรณีลงนามสัญญาก่อนปีที่ประเมิน แต่มีระยะสัญญามากกว่า 1 ปี สามารถนำเงินวิจัยของสัญญาฉบับนี้มาคำนวณในปีที่ประเมินได้หรือไม่

คำตอบ :  ได้   โดยนำเงินวิจัยมาหารด้วยจำนวนปีของระยะสัญญา และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปคำนวณตามสูตรการคำนวณของ สกอ.

คำถาม : กรณีลงนามสัญญาก่อนปีการศึกษาที่ประเมิน และมีระยะสัญญา 1 ปี ไม่สามารถนำเงินวิจัยของสัญญาฉบับนี้มาคำนวณได้ใช่หรือไม่

คำตอบ :  ใช่  ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เพราะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่  1  สิงหาคม ของปีการศึกษาที่ประเมิน

คำถาม : กรณีลงนามสัญญาวิจัยภายในรอบปีที่ประเมิน และระยะสัญญามากกว่า 1 ปี ตัวอย่างเช่น ลงนามสัญญาปลายปีการศึกษา 2557 โดยมีระยะสัญญาวิจัย 3 ปี จำนวนทุนวิจัยที่ได้รับ 3 ล้านบาท ต้องคำนวณเงินวิจัยอย่างไร

คำตอบ :  ตัวตั้งคือ เงินวิจัย  (3 ล้านบาท) หารด้วยจำนวนระยะสัญญา (3 ปี)  ผลลัพธ์เท่ากับ  เงินวิจัย 1 ล้านบาท  นำมานับเป็นตัวตั้งของปีการศึกษา 2557  และนำไปคำนวณตามสูตรการคำนวณของ สกอ.  จะได้เป็นคะแนนของปีการศึกษา 2557    สำหรับจำนวนเงินที่เหลือจะนำไปคำนวณในปีการศึกษาต่อไปตามระยะสัญญา  (ปีการศึกษา 2558  และปีการศึกษา 2559  ปีละ 1 ล้านบาท)

คำถาม : เงินสนับสนุนวิจัยงานสร้างสรรค์ กรณีมีผู้ทำวิจัย 3 คนและมีระยะเวลาทำวิจัยตามสัญญา 2 ปี

คำตอบ : กรณีมีผู้ทำวิจัย 3 คน ระยะเวลา 2 ปี ให้นำเงินมาหารตามสัดส่วนการทำวิจัยและหาร 2 ตามจำนวนปีด้วย

คำถาม : การวิจัยนับตามปีอะไร

คำตอบ : 

  • ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 (ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์) นับตามปีการศึกษา
  • ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 (เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์) นับตามปีการศึกษา
  • ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 (ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย) นับตามปีปฏิทิน พ.ศ. 2557