องค์ประกอบที่ 1

การกำกับมาตรฐาน

คำถาม : กรณีที่อาจารย์เป็นนิสิตปริญญาเอกใน มศว และรายงานตัวเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในปีที่รับการประเมิน นับผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างไร

คำตอบ :

1. ที่องค์ประกอบที่ 1 ไม่สามารถนับเป็นประสบการณ์วิจัยของอาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษาได้ (กรณีที่อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา)

2. สามารถนับเป็นผลงานเผยแพร่ของนิสิตปริญญาเอกในองค์ประกอบที่ 2 ได้ และสามารถนับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 4 (4.2) ได้

คำถาม : ผู้เชี่ยวชาญภายนอกสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) ได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่ได้  สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักต้องเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันเท่านั้น  ผู้เชี่ยวชาญสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม  (Co-advisor)

คำถาม : อาจารย์ลาไปศึกษาต่อระดับ ป.เอก นับเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ :  ไม่ได้ เพราะลาไปศึกษาต่อ

คำถาม : หลักสูตรเดียวกัน แต่มีหลายแผนคือ แบบ ก 1 และแบบ ก 2 และแผน ข จะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่ชุด

คำตอบ : ต้องจัดหาอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 ชุด ตลอดระยะเวลาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า   5 คน (หรือดูง่ายๆ หากมี มคอ. 2 เล่มเดียว ก็มี 1 ชุด) และต้องจัดหาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนนิสิตตามภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548

  • วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 5 คน
  • การค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 15 คน

หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คน เทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

 

คำถาม : ผู้บริหาร (อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ) ในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้หากมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของ สกอ. สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เพียงหลักสูตรเดียวในมหาวิทยาลัยนั้น

คำถาม : อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถเป็น อาจารย์ผู้สอน ในหลาย ๆ หลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้

คำถาม : หลักสูตรที่มีแขนงจะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่คน

คำตอบ : กรณีหลักสูตรปริญญาตรีที่มีแขนงวิชากำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชาที่เปิดสอน (อ้างอิง บันทึกข้อความที่ ศธ 0506(4)/ว254 ของ สกอ.)

คำถาม : คุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรตรงสาขาหรือสัมพันธ์พิจารณาอย่างไร

คำตอบ : 

1. อ้างอิงข้อมูล ISCED-F 2013

2. “สัมพันธ์” ในที่นี้หมายถึงคุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ของหลักสูตรที่เปิดสอน  โดยมีจำนวนรายวิชาของคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 50  ต้องตรงกับรายวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน โดยให้พิจารณารายวิชาของคุณวุฒิที่สูงกว่าระดับการศึกษาของหลักสูตรนั้น

3. กรณีที่อาจารย์สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร By Research หรือหลักสูตรที่มี coure course น้อยมาก ให้ดูว่าวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ตรงกับสาระหลักสูตร

4. กรณีมีข้อกำหนดของวิชาชีพเพิ่มเติมให้นำมาพิจารณาด้วย

 

คำถาม : การนับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร กรณีอาจารย์ลาด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ลาคลอด ลาอุปสมบท ลาศึกษาต่อ ลาออก เป็นต้น ให้นับอย่างไร

คำตอบ : ถ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านใดท่านหนึ่ง ในรอบปีการศึกษาที่รับการประเมินลาด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ให้แต่งตั้งผู้อื่นที่มีคุณสมบัติครบแทน เพื่อให้มีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรครบ ส่วนการรายงานผลงานวิชาการของอาจารย์คนใหม่ที่มาแทน

คำถาม : กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 จะเกิดอะไรขึ้น

คำตอบ :

1. อาจจะถูกระงับการรับนิสิตในปีการศึกษาต่อไป

2. หลักสูตรไม่ได้รับการเผยแพร่ว่าได้มาตรฐานโดย สกอ. จนกว่าจะมีระดับคะแนนดีขึ้นไปต่อกัน 2 ปี

3. มีผลต่อตัวบ่งชี้ ระดับคณะ (1.1 และ 5.2) และตัวบ่งชี้ระดับมหาวิทยาลัย (1.1 , 5.2 และ 5.3) และมีผลต่อการประเมินของ กพร.