การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

องค์ประกอบในการประกันคุณภาพหลักสูตร

คำถาม : การประเมินระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 “ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ” จะพิจารณาร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปีอย่างไร

คำตอบ : 1. กรณีตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติข้อที่ 11 คือ ระดับความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพของหลักสุูตร และข้อที่ 12 คือ ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ จะต้องประเมินหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้
1.1) หากเป็นหลักสูตรใหม่ และยังไม่มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษา ให้พิจารณาว่าในเอกสาร มคอ.2 ระบุการประเมินข้อ 11 และข้อ 12 ไว้ในปีใดของการดำเนินการหลักสูตร ก็ให้ประเมินตามปีที่ระบุ
1.2) หากเป้นหลักสูตรปรับปรุง ซึ่งมีการดำเนินงานมาครบรอบระยะเวลาหลักสูตรและมีนิสิตสำดร็จการศึกษาแล้ว ก็ให้ประเมินข้อ 11 และข้อ 12 ดังกล่าวด้วย

2. กรณีตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ข้อที่ 8 คือ อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือให้คำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
คำว่า  “อาจารย์ใหม่” ที่ระบุไว้ หมายถึง อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่เพิ่งเข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอนใหม่ในหลักสูตร ซึ่งคณะหรือภาควิชาหรือหัวหน้าหลักสูตรจะต้องจัดการปฐมนิเทศหรือให้คำแนะนำด้านการจัดการเราียนการสอนให้กับอาจารย์ผู้นั้น เพื่อรับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรเป็นการเฉพาะ อาทิ ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร ลักษณะการจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์แต่ละรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตร เพื่อให้การเรียนการสอนแต่ละรายวิชามีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

ที่มา : หนังสือราชการ สกอ. ที่ ศธ 0506(3)/10206 ลงวันที่ 11 กันยายน 2558 )

คำถาม : จากตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ข้อ 11 ระดับความพึงพอใจของนิสิตปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5

  • ถ้านิสิตปีสุดท้ายของระดับปริญญาตรี จะหมายถึงนิสิตชั้นปีที่ 4 แต่นิสิตปีสุดท้ายของระดับบัณฑิตศึกษา จะหมายถึงนิสิตชั้นปีใด

คำตอบ : ให้ยึดตามระยะเวลาของแผนการศึกษาของหลักสูตรที่ปรากฎใน มคอ.2 เช่น หลักสูตร 2 ปี ให้ประเมินความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 3

คำถาม : จากตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ข้อ 6 มีการทวนสอบผลสัมฤทธ์ของนิสิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

  •  ถ้านิสิตปีสุดท้ายของระดับปริญญาตรี จะหมายถึงนิสิตชั้นปีที่ 4 แต่นิสิตปีสุดท้ายของระดับบัณฑิตศึกษา จะหมายถึงนิสิตชั้นปีใด

คำตอบ :  ให้ยึดตามระยะเวลาของแผนการศึกษาของหลักสูตรที่ปรากฎใน มคอ.2 เช่น หลักสูตร 2 ปี ให้ประเมินความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 2

คำถาม : การประเมินการจัดการเรียนการสอนต้องผ่าน 3.51 หรือไม่

คำตอบ : ไม่จำเป็น แต่ให้นำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนารายวิชาในประเด็นที่ควรปรับปรุง

คำถาม : ตำราหรือหนังสือที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการนับอย่างไร

คำตอบ : นับตำราหรือหนังสือที่ผู้ขอผ่านการประเมินตำแหน่งวิชาการ ในปีปีปฏิทินที่ตรงกับปีการศึกษาที่รับประเมิน โดยนับในปีปฏิทิน ที่สภาสถาบันอนุมัติตำแหน่งทางวิชาการนั้น ๆ ไม่ต้องดูปีที่ตีพิมพ์

คำถาม : การตีพิมพ์/การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำเป็นต้องกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมของอาจารย์หรือไม่

คำตอบ : ไม่จำเป็น กรณีผลงานวิชาการร่วม อาจารย์ทุกคนที่มีส่วนร่วมสามารถใช้อ้างอิงเป็นผลงานในระดับหลักสูตรของตนเองได้ โดยไม่พิจารณาสัดส่วนการมีส่วนร่วม เช่น อาจารย์จาก 2 หลักสูตรร่วมกันทำผลงานวิจัยและมีการตีพิมพ์/เผยแพร่ อาจารย์แต่ละหลักสูตรสามารถนำไปใช้เป็นผลงานของหลักสูตรตนเองได้ แต่เมื่อพิจารณาการประเมินในระดับคณะ/สถาบัน ให้นับผลงานวิชาการเป็น 1 เรื่อง เท่านั้น

คำถาม : ผลที่เกิดกับนิสิต เกี่ยวกับความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิตจะดำเนินการอย่างไร

คำตอบ : ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

1. จัดระบบและกลไกการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต  และประกาศให้ทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน

2. จัดเก็บข้อมูลเรื่องการร้องเรียนของนิสิต เรื่องที่ได้รับการแก้ไขและผลจากการแก้ไข

3. ประเมินความพึงพอใจของนิสิตเกี่ยวกับระบบและผลการจัดการข้อร้องเรียน

คำถาม : ยกตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงในระดับหลักสูตร

คำตอบ : ตัวอย่างเช่น คุณภาพของนิสิตที่เข้ามาลดลง จำนวนรับไม่เป็นไปตามแผน อัตราการคงอยู่ อัตราการสำเร็จการศึกษาตามแผน นิสิตไม่จบการศึกษาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด นิสิตมีปัญหาด้านการเรียน การเงิน ฯลฯ ความเสี่ยงอาจารย์ขาดแคลน และความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยระหว่างการเรียนการสอน  ฯลฯ ซึ่งแต่ละหลักสูตรอาจมีความเสี่ยงแตกต่างกัน

คำถาม : ผลงานวิจัยที่มีชื่อนิสิตและอาจารย์ร่วมกันและนับในตัวบ่งชี้บัณฑิต (ป.โท หรือ ป.เอก) แล้ว สามารถนำไปนับในตัวบ่งชี้ผลงานวิชาการของอาจารย์ได้หรือไม่

คำตอบ : สามารถนับได้

คำถาม : กรณีที่อาจารย์เป็นนิสิตปริญญาเอกใน มศว และรายงานตัวเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในปีที่รับการประเมิน นับผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างไร

คำตอบ :

1. ที่องค์ประกอบที่ 1 ไม่สามารถนับเป็นประสบการณ์วิจัยของอาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษาได้ (กรณีที่อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา)

2. สามารถนับเป็นผลงานเผยแพร่ของนิสิตปริญญาเอกในองค์ประกอบที่ 2 ได้ และสามารถนับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 4 (4.2) ได้