Author: สิริมา แสงสงคราม

คำถาม : การตีพิมพ์/การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำเป็นต้องกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมของอาจารย์หรือไม่

คำตอบ : ไม่จำเป็น กรณีผลงานวิชาการร่วม อาจารย์ทุกคนที่มีส่วนร่วมสามารถใช้อ้างอิงเป็นผลงานในระดับหลักสูตรของตนเองได้ โดยไม่พิจารณาสัดส่วนการมีส่วนร่วม เช่น อาจารย์จาก 2 หลักสูตรร่วมกันทำผลงานวิจัยและมีการตีพิมพ์/เผยแพร่ อาจารย์แต่ละหลักสูตรสามารถนำไปใช้เป็นผลงานของหลักสูตรตนเองได้ แต่เมื่อพิจารณาการประเมินในระดับคณะ/สถาบัน ให้นับผลงานวิชาการเป็น 1 เรื่อง เท่านั้น

คำถาม : ผลที่เกิดกับนิสิต เกี่ยวกับความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิตจะดำเนินการอย่างไร

คำตอบ : ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

1. จัดระบบและกลไกการจัดการข้อร้องเรียนของนิสิต  และประกาศให้ทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน

2. จัดเก็บข้อมูลเรื่องการร้องเรียนของนิสิต เรื่องที่ได้รับการแก้ไขและผลจากการแก้ไข

3. ประเมินความพึงพอใจของนิสิตเกี่ยวกับระบบและผลการจัดการข้อร้องเรียน

คำถาม : ยกตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงในระดับหลักสูตร

คำตอบ : ตัวอย่างเช่น คุณภาพของนิสิตที่เข้ามาลดลง จำนวนรับไม่เป็นไปตามแผน อัตราการคงอยู่ อัตราการสำเร็จการศึกษาตามแผน นิสิตไม่จบการศึกษาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด นิสิตมีปัญหาด้านการเรียน การเงิน ฯลฯ ความเสี่ยงอาจารย์ขาดแคลน และความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยระหว่างการเรียนการสอน  ฯลฯ ซึ่งแต่ละหลักสูตรอาจมีความเสี่ยงแตกต่างกัน

คำถาม : ผลงานวิจัยที่มีชื่อนิสิตและอาจารย์ร่วมกันและนับในตัวบ่งชี้บัณฑิต (ป.โท หรือ ป.เอก) แล้ว สามารถนำไปนับในตัวบ่งชี้ผลงานวิชาการของอาจารย์ได้หรือไม่

คำตอบ : สามารถนับได้

คำถาม : กรณีที่อาจารย์เป็นนิสิตปริญญาเอกใน มศว และรายงานตัวเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในปีที่รับการประเมิน นับผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างไร

คำตอบ :

1. ที่องค์ประกอบที่ 1 ไม่สามารถนับเป็นประสบการณ์วิจัยของอาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษาได้ (กรณีที่อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา)

2. สามารถนับเป็นผลงานเผยแพร่ของนิสิตปริญญาเอกในองค์ประกอบที่ 2 ได้ และสามารถนับเป็นผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 4 (4.2) ได้

คำถาม : ผู้เชี่ยวชาญภายนอกสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) ได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่ได้  สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักต้องเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันเท่านั้น  ผู้เชี่ยวชาญสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม  (Co-advisor)

คำถาม : อาจารย์ลาไปศึกษาต่อระดับ ป.เอก นับเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ :  ไม่ได้ เพราะลาไปศึกษาต่อ

คำถาม : หลักสูตรเดียวกัน แต่มีหลายแผนคือ แบบ ก 1 และแบบ ก 2 และแผน ข จะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรกี่ชุด

คำตอบ : ต้องจัดหาอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 ชุด ตลอดระยะเวลาตามหลักสูตรนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า   5 คน (หรือดูง่ายๆ หากมี มคอ. 2 เล่มเดียว ก็มี 1 ชุด) และต้องจัดหาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนนิสิตตามภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548

  • วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 5 คน
  • การค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คน ต่อ นักศึกษา 15 คน

หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คน เทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

 

คำถาม : ผู้บริหาร (อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ) ในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้หากมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของ สกอ. สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เพียงหลักสูตรเดียวในมหาวิทยาลัยนั้น

คำถาม : อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถเป็น อาจารย์ผู้สอน ในหลาย ๆ หลักสูตรได้หรือไม่

คำตอบ : ได้